เมื่อจะเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ อย่าลืมการดูแลช่องปาก

ในขณะเกิดภัยพิบัติ มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้การดูแลช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ

ในขณะเกิดภัยพิบัติ มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้การดูแลช่องปากเป็นสิ่งสำคัญ

ในขณะที่เกิดภัยพิบัติ
การดูแลช่องปากไม่เพียงส่งผลต่อสุขภาพช่องปากของคุณเท่านั้น
แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพของอวัยวะส่วนอื่นๆ ในร่างกายของคุณด้วย
หากคุณไม่สามารถรักษาความสะอาดของช่องปาก
เมื่อต้องอาศัยอยู่ในศูนย์หลบภัย หรือในภาวะที่ขาดแคลนน้ำ
แบคทีเรียในช่องปากของคุณอาจส่งผลร้ายต่อส่วนอื่นๆ ในร่างกายของคุณได้
หากคุณเป็นผู้สูงอายุ คุณยิ่งจะต้องดูแลเป็นพิเศษ
เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเป็นโรคปอดบวม

โฆษณาทางโทรทัศน์ โฆษณาการดูแลช่องปากเพื่อเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ(ภาษาญี่ปุ่น)

เหตุใดการแปรงฟันจึงมีความสำคัญในภาวะที่เกิดภัยพิบัติ?

การดูแลช่องปากมีความสำคัญในภาวะที่เกิดภัยพิบัติ

ผู้ควบคุมบทบรรณาธิการ: เรียวเฮ อาดาจิ ภาควิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยโกเบโทคิวะ

แปรงฟันของคุณ เพื่อป้องกันโรคปอดบวม

ช่องปากคือประตูไปสู่ปอด เมื่อไม่สามารถรักษาสุขอนามัยของช่องปากในขณะอาศัยอยู่ในศูนย์หลบภัยหรือเมื่อขาดแคลนน้ำ ผู้สูงอายุจะมีความเสี่ยงต่อโรคปอดบวมจากการสำลักเศษอาหารเข้าหลอดลมมากขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเอาใจใส่
หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชินในปี 1995 มีผู้คนมากกว่า 200 คน เสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม ซึ่งเป็นผลพวงจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนั้น เราสันนิษฐานว่าส่วนใหญ่เกิดจากโรคปอดบวมจากการสำลักเศษอาหารเข้าหลอมลม

ฟันที่สกปรกอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคปวดบวม

การทำความสะอาดฟันปลอมก็เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาสุขอนามัยของช่องปากเช่นเดียวกัน เมื่อใดก็ตามที่ทำได้ หลังจากรับประทานอาหาร ควรถอดฟันปลอมออกและทำความสะอาด
รวมทั้งถอดฟันปลอมออกในตอนกลางคืนก่อนนอน

  • การรักษาช่องปากยังสามารถช่วยป้องกันโรคไข้หวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อป้องกันโรคปริทันต์และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด 
  • ภาวะฟันผุในเด็กจะเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณการกินของกินเล่นระหว่างมื้ออาหารมากขึ้น และมีข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถแปรงฟันได้เป็นเวลายาวนาน

จะดูแลสุขภาพช่องปากอย่างดีในภาวะที่เกิดภัยพิบัติได้อย่างไร

การดูแลช่องปากโดยไม่ใช้แปรงสีฟัน

การดูแลช่องปากโดยไม่ใช้แปรงสีฟัน

เมื่ออาศัยอยู่ในศูนย์หลบภัยหรือในสถานการณ์อื่นที่ไม่สามารถใช้แปรงสีฟัน หลังรับประทานอาหาร ให้บ้วนปากให้สะอาดด้วยน้ำหรือน้ำชาประมาณ 30 มล.
ทำความสะอาดฟันโดยเช็ดด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูพันรอบนิ้วก็ใช้ได้เช่นกัน

การกระตุ้นการผลิตน้ำลายก็สำคัญเช่นกัน

การกระตุ้นการผลิตน้ำลายก็สำคัญเช่นกัน

น้ำลายช่วยล้างสิ่งสกปรกภายในปาก พยายามอย่าให้ร่างกายขาดน้ำเท่าที่จะทำได้ และกระตุ้นการผลิตน้ำลายให้เพียงพอโดยนวดหรือคลึงบริเวณฐานขากรรไกร (ข้างใต้ใบหูพอดี)
การเคี้ยวหมากฝรั่งก็เป็นวิธีที่ดีในการกระตุ้นการผลิตน้ำลาย

การแปรงฟันของคุณในยามที่น้ำขาดแคลน

การแปรงฟันของคุณในยามที่น้ำขาดแคลน

  1. เทน้ำประมาณ 30 มล. (1 ออนซ์) ลงในถ้วย
  2. จุ่มแปรงสีฟันลงในน้ำ
    จากนั้นจึงเริ่มแปรงฟัน
  3. แปรงสีฟันจะค่อย ๆ สกปรกขึ้น
    จึงต้องเช็ดทำความสะอาดด้วยทิชชู (หรือล้างน้ำ หากทำได้)
    ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แปรงต่อไป
    ล้างแปรงอีกเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
  4. ในขั้นสุดท้าย ล้างปากด้วยน้ำในถ้วยสองหรือสามครั้ง
    การแบ่งการบ้วนน้ำออกเป็นสองหรือสามครั้งจะล้างปากได้ดีกว่าการใช้น้ำทั้งถ้วยบ้วนปากครั้งเดียว
การใช้ยาสำหรับบ้วนปากหรือน้ำยาบ้วนปากเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ หากมีให้ใช้
*
การทำความสะอาดช่องปากอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้น้ำน้อย
ปรับปรุงและดัดแปลงจาก www.oralcare-jp.org/pdf/minimum_water.pdf

ยาสำหรับบ้วนปาก น้ำยาทำความสะอาดฟัน และน้ำยาบ้วนปาก

การใช้น้ำยาทำความสะอาดฟันเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ

เนื่องจากยาสีฟันแบบเหลวมีลักษณะเป็นของเหลว
จึงซอกซอนไปได้ทุกซอกทุกมุมของช่องปาก
และช่วยให้รักษาสุขภาพช่องปากได้ดีในภาวะที่เกิดภัยพิบัติ

สิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการดูแลช่องปากคำถามและคำตอบเกี่ยวกับนำยาทำความสะอาดฟัน

คำถาม: ฉันจะใช้น้ำยาทำความสะอาดฟันได้อย่างไร?
น้ำยาทำความสะอาดฟันสามารถใช้แทนยาสีฟันปกติแบบครีมได้ อมน้ำยาปริมาณพอสมควร (ประมาณ 10 มล.) ไว้ในปาก กลั้วไว้ในปากประมาณ 20 วินาที จากนั้นจึงแปรง หลังจากภัยพิบัติหรือในสถานการณ์อื่นที่ขาดแคลนน้ำ การใช้น้ำยาทำความสะอาดฟันที่มีส่วนประกอบการสารฆ่าเชื้อแบคทีเรียสามารถลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้
คำถาม: หลังใช้งาน ฉันต้องบ้วนปากด้วยน้ำอีกหรือไม่?
ไม่จำเป็นต้องบ้วนปากด้วยน้ำอีกครั้ง หากผลิตภัณฑ์ทิ้งรสชาติที่ไม่ค่อยดีไว้ จะบ้วนน้ำตามเล็กน้อยก็ได้
คำถาม: น้ำยาทำความสะอาดฟันมีวันหมดอายุหรือไม่?
น้ำยาทำความสะอาดฟันที่ยังไม่ได้เปิดใช้และเก็บรักษาไว้ในสภาพปกติได้รับการออกแบบและผลิตมาเพื่อให้มีอายุการใช้งานอยู่ได้ประมาณสามปีหลังจากวันที่ผลิตโดยที่ไม่เสื่อมคุณภาพ
คำถาม: ฉันควรทำอย่างไรหากไม่มีน้ำยาทำความสะอาดฟันหรือแปรงสีฟัน?
บ้วนปากให้สะอาดด้วยน้ำหรือน้ำชาเล็กน้อยหลังรับประทานอาหารหรือก่อนนอน การเช็ดฟันอย่างระมัดระวังด้วยผ้าเช็ดหน้าหรือกระดาษทิชชูก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ

รายการสิ่งจำเป็นในภาวะที่เกิดภัยพิบัติ

ตรวจสอบอุปกรณ์เตรียมพร้อมรับภัยพิบัติของคุณทุกๆ สามเดือน

จากเว็บไซต์ของสมาคมรอบปีของญี่ปุ่น มีสี่วันในรอบหนึ่งปีที่ได้รับการกำหนดให้เป็นวันสำหรับการตรวจสอบอุปกรณ์สำหรับภาวะฉุกเฉิน ได้แก่: 1 มีนาคม, 1 มิถุนายน, 1 กันยายน และ 1 ธันวาคม การดำเนินการอย่างเนื่องเป็นสิ่งสำคัญสำหรับความสำเร็จของการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ โดยทำให้เกิดความรู้และความตระหนักในธรรมชาติและการความพร้อมรับมือภัยพิบัติ ซึ่งนำไปสู่การเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ
เคล็ดลับในการปฏิบัติเพื่อให้แน่ใจว่ามีการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติตลอดเวลา: (1) ทำให้เป็นเรื่องสนุก (2) อย่าทำให้มากเกินไป และ (3) ทำทีละเล็กละน้อย

ผู้ควบคุมบทบรรณาธิการ: โนบุเอะ คุนิซากิ, กิกิ คันริ เคียวอิคุ เค็นคิวโช

ผู้ควบคุมบทบรรณาธิการ:
โนบุเอะ คุนิซากิ, กิกิ คันริ เคียวอิคุ
เค็นคิวโช

อุปกรณ์พื้นฐาน 38 อย่าง

- ที่ทุกบ้านจำเป็นต้องมี

    สิ่งจำเป็นในภาวะที่เกิดภัยพิบัติ ปริมาณ หมายเหตุ
(สำหรับหนึ่งคน) (สำหรับสองคน)
1 อุปกรณ์สิ้นเปลืองที่จำเป็นเมื่อเกิดภาวะภัยพิบัติ ไฟฉาย 1 2 หากไฟฉายไม่ได้เป็นแบบใช้พลังแสงอาทิตย์หรือแบบใช้มือหมุน ควรเตรียมถ่านไฟฉายไว้ด้วย
2 วิทยุแบบพกพา 1 1 หากไฟฉายไม่ได้เป็นแบบใช้พลังแสงอาทิตย์หรือแบบใช้มือหมุน ควรเตรียมถ่านไฟฉายไว้ด้วย
3 แว่นกันลม 1 2 *สำหรับป้องกันดวงตาจากฝุ่นและเศษกระจก
4 ถุงมือสำหรับงานหนักหรือถุงมือมาตรฐาน 1 2 แนะนำให้เป็นแบบที่ทนการบาดเพื่อปกป้องมือ
5 หน้ากากกันควัน 1 2 เพื่อป้องกันก๊าซพิษที่เกิดจากไฟ
6 หน้ากากกันฝุ่น 1 2 เพื่อป้องกันทางเดินหายใจจากฝุ่นและละอองอื่นๆ
7 หมวกนิรภัย 1 2 *สำหรับป้องกันศีรษะจากสิ่งของที่ปลิวและร่วงหล่น
8 อุปกรณ์ยังชีพประจำวัน น้ำดื่ม * * เตรียมไว้ให้พอสำหรับ 10 วัน (2 ลิตรต่อวัน × 10 วัน)
9 อาหาร * * เตรียมไว้ให้พอสำหรับ 10 วัน (พิจารณาสารอาหารให้ครบถ้วน)
10 เครื่องมือสารพัดประโยชน์ 1 1 เครื่องมือสารพัดประโยชน์ (ที่สามารถใช้งานได้อเนกประสงค์ เช่น เป็นที่เปิดขวด, ที่เปิดกระป๋อง, ไขควง, เครื่องเจาะ, คีม, กรรไกร และเลื่อย)
11 ถุงบรรจุน้ำ 1 1 สามารถลำเลียงน้ำได้อย่างสะดวก
12 สุขาฉุกเฉิน * * เตรียมไว้ให้พอสำหรับ 10 วัน (จำนวนที่ใช้ต่อวัน × 10 วัน)
13 กระดาษชำระ * * ปริมาณเท่าที่จำเป็นกับจำนวนสุขาที่ใช้ (เอาแกนม้วนออกเพื่อประหยัดพื้นที่จัดเก็บ)
14 ผ้าอ้อมกระดาษสำหรับผู้ใหญ่ 1 1 หนึ่งห่อ (เพื่อเตรียมพร้อมกรณีไม่มีสุขาเมื่อออกจากบ้าน)
15 ถุงพลาสติก 2 2 สะดวกสำหรับการใช้งานหลากหลาย เช่น ใส่ของ, ทิ้งขยะ, ใส่น้ำ
16 เสื้อกันฝนหรือผ้าคลุมกันฝน 1 2 สะดวกในกรณีที่ฝนตกหรืออากาศหนาว, เมื่อต้องการความเป็นส่วนตัวเมื่อเข้าห้องน้ำ หรือใช้คลุมเมื่อเปลี่ยนเสื้อผ้า
17 แผ่นเคมีร้อน 1 1 หนึ่งกล่อง (สะดวกในการอุ่นอาหารหรือให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย)
18 ผ้าห่มยังชีพ 1 1 สะดวกในกรณีที่ฝนตกหรืออากาศหนาว, เมื่อต้องการความเป็นส่วนตัวเมื่อเข้าห้องน้ำ หรือใช้คลุมเมื่อเปลี่ยนเสื้อผ้า
19 เงินสด * * ประมาณ 30,000 เยน ทั้งเป็นธนบัตรและเหรียญ สำหรับใช้กับโทรศัพท์สาธารณะและซื้อของ
20 เครื่องเขียน 1 2 กระดาษกันน้ำและปากกาเมจิกแบบหมึกน้ำมัน
21 ไฟแช็ก 1 1  
22 ที่ชาร์จแบตเตอรี่แบบพกพา 1 1 หากไฟฉายไม่ได้เป็นแบบใช้พลังแสงอาทิตย์หรือแบบใช้มือหมุน ควรเตรียมถ่านไฟฉายไว้ด้วย
23 อุปกรณ์ปฐมพยาบาล ยาแก้ปวด 1 2 อย่าลืมยาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์
24 ยาฆ่าเชื้อ 1 2  
25 ผ้าพันแผลที่ผ่านการฆ่าเชื้อ 1 2 หนึ่งห่อ
26 สำลี 1 2 หนึ่งห่อ
27 แผ่นห้ามเลือด 1 2 หนึ่งห่อ
28 ผ้าพันแผล 1 2  
29 ยาหยอดตา 1 2  
30 น้ำกลั่น 1 2 สะดวกสำหรับการล้างสิ่งสกปรกที่สัมผัสกับร่างกาย
31 แถบผ้าคล้องแขน 1 2  
32 อุปกรณ์เพื่อสุขอนามัย ชุดชั้นใน 1 2 ครบชุด (ท่อนบน ท่อนล่าง และถุงเท้า)
33 ผ้าเช็ดตัว 1 2 ผ้าเช็ดตัวสำหรับเล่นกีฬา, ผ้าเช็ดตัวอาบน้ำ ฯลฯ
34 กระดาษทิชชูเปียก 1 2 ประเภทที่เก็บไว้ได้นาน
35 กรรไกรตัดเล็บ 1 1  
36 น้ำหอมระงับกลิ่นกาย/สเปรย์กำจัดแบคทีเรีย 1 1 สำหรับระงับกลิ่น/กำจัดแบคทีเรียบนร่างกาย แนะนำประเภทที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ดีและมีผลกระทบต่อร่างกายน้อย
37 แปรงสีฟัน 1 2  
38 น้ำยาทำความสะอาดฟัน 1 1 ขวดประมาณ 500 มล. หนึ่งขวด ใช้ครั้งละ 10 มล.

Disaster Kit Checklist

*
สิ่งของในรายการนี้ได้รับการคัดเลือกมาสำหรับการใช้ในขณะอยู่อาศัยในศูนย์หลบภัย ปริมาณดังกล่าวได้รับการออกแบบมาให้ใช้ได้หลายวัน ดังนั้นจึงอาจไม่สามารถบรรจุของทั้งหมดลงในกระเป๋าอุปกรณ์เตรียมพร้อมภัยพิบัติเพียงใบเดียวได้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภัยพิบัติ ต้องตรวจสอบและเตรียมสิ่งของต่างๆ เป็นระยะๆ

เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการดูแลช่องปากที่ดีในภาวะที่เกิดภัยพิบัติในยามที่น้ำน่าจะขาดแคลน โปรดตรวจสอบว่าอุปกรณ์เตรียมพร้อมรับภัยพิบัติของคุณมีน้ำยาทำความสะอาดฟันและแปรงสีฟันรวมอยู่ด้วย

ดาวน์โหลดคู่มือการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ

คู่มือเตรียมความพร้อมดูแลช่องปากในภาวะที่เกิดภัยพิบัติของ ซันสตาร์

ดาวน์โหลดลงในสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์แบบพกพาอื่นๆ ของคุณได้อย่างสะดวก
ใช้สำหรับเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติเป็นประจำ

ดาวน์โหลดคู่มือการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ

ขอโปสเตอร์การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ สำหรับหน่วยงานทางการแพทย์และหน่วยงานส่งเสริมกิจกรรมเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติที่ต้องการใช้และเผยแพร่ข้อความเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติของซันสตาร์

สามารถดาวน์โหลดโปสเตอร์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาช่องปากในระหว่างเกิดภัยพิบัติได้

*
จะจัดส่งโปสเตอร์ให้ภายในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น

โปสเตอร์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับการรักษาช่องปากในระหว่างเกิดภัยพิบัติ (ฉบับพื้นฐาน)

ดาวน์โหลดโปสเตอร์
(ไฟล์ PDF ภาษาญี่ปุ่น)

หัวข้อ

การสัมมนาเรื่องการดูแลช่องปากหลังภาวะที่เกิดภัยพิบัติ

การสัมมนาเรื่องการดูแลช่องปากหลังภาวะที่เกิดภัยพิบัติ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์โคอิจิ นาคาคุคิ แห่งมหาวิทยาลัยการแพทย์และทันตแพทย์โตเกียว ได้แสดงการบรรยายในหัวข้อ "การรักษาช่องปากและระบบรักษาทันตสาธารณสุขหลังภัยพิบัติ" ในการประชุมประจำปีครั้งที่ 19 ของสมาคมแพทย์ภัยพิบัติของญี่ปุ่น ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมนานาชาติโตเกียวในเขตยูราคุโจ กรุงโตเกียว ในการบรรยาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นาคาคุคิ เน้นว่ามีผู้สูงอายุจำนวนมากเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวมจากการสำลักเศษอาหารเข้าหลอดลม ซึ่งเกิดจากภาวะสุขอนามัยที่ย่ำแย่ในช่วงภัยพิบัติ และยังได้เน้นย้ำความสำคัญของการร่วมมือกันระหว่างหลากหลายอาชีพ ซึ่งประกอบด้วยทันตแพทย์, นักทันตสาธารณสุข, แพทย์, พยาบาลสาธารณสุข, พยาบาล, เภสัชกร และนักโภชนากร เนื่องจากการดูแลช่องปากเพื่อป้องกันโรคปอดบวม ก็คือการรักษาสุขภาพเพื่อปกป้องชีวิตนั่นเอง
(ประธาน: ศาสตราจารย์เรียวเฮ อาดาจิ มหาวิทยาลัยโกเบโทคิวะ คณะทันตสาธารณสุข)

แบ่งปันหน้านี้
  • Twitter
  • Facebook